วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

สรุปบทที่ 3

สรุปบทที่ 3

องค์ประกอบของภาษาซี ตัวแปร และชนิดข้อมูล

   ภาษาซี ถูกพัฒนาขึ้นโดย เดนนิส ริตชี ที่ห้องปฏิบัติการเบลล์ ซึ่งมีต้นแบบมาจาก ภาษาบี ที่อยู่บนรากฐานของ ภาษาบีซีพีแอล ทางสถาบัน ANSI ได้รับรองมาตรฐานภาษาซีขึ้นมาภายใต้ชื่อ ANSI-C ปัจจุบันได้มีการพัฒนาภาษาซีให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเป็นเวอร์ต่างๆ มากมาย ด้วยการนำมาพัฒนาต่อยอเป็น C++ หรือ C# โดยได้เพิ่มชุดคำสั่งที่สนับสนุนการโปรแกรมเชิงวัตถุ และยังคงรับรองชุดคำสั่งมาตรฐานของภาษาซีดั้งเดิมอยู่ด้วย


คุณสมบัติที่โดดเด่นของภาษาซี

1. เป็นภาษาที่ไม่ขึ้นกับฮาร์ดแวร์และระบบ  ปฏิบัติการภาษาซีสามารถรันใช้งานอยู่บนคอมพิวเตอร์  ตั้งแต่ระดับเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ จนถึงระดับไมโครคอมพิวเตอร์ ซึ่งเมื่อเทียบกับภาษาอื่นๆแล้ว ยากที่จะหาภาษาใดเทียบเคียงได้ ดังนั้น ชุดคำสั่งที่ภาษาซีเขียนขึ้น จึงสามารถนำมาใช้งานบนคอมพิวเตอร์ต่างระดับได้ โดยแทบไม่ต้องเปลี่ยนชุดคำสั่งใดๆ

2. เป็นภาษาที่มีความยืดหยุ่นสูงมาก ภาษาซีถูกจัดให้อยู่ในภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูง แต่ภาษาซีก็ยังสมารถเขียนชุดคำสั่งเพื่อใช้งานร่วมกับภาษาระดับต่ำอย่างภาษา แอสเซมบลีได้เป็นอย่างดี จึงเป็นที่มาของภาษาระดับกลาง ที่อยู่กึ่งของภาษาระดับต่ำและภาษาระดับสูง

3. มีประสิทธิภาพสูง เปรียบเทียบระหว่างชุดตำสั่งภาษาซีกับภาษาระดับสูงอื่นๆ พบว่า ชุดคำสั่งภาษาซี กะทัดรัดและกระชับกว่า รวมไปถึงการประมวลผลที่รวดเร็วกว่าภาษาระดับสูงทั่วไป มีความรวดเร็วเทียบเคียงกับภาษาระดับต่ำ อีกทั้งยังมีระบบจัดการหน่วยความจำที่มีประสิทธิภาพที่สูงอีกด้วย

4. ความสามารถในด้านการโปรแกรมแบบโมดูล ภาษาซีอนุญาตให้มีการแบ่งโมดูลเพื่อแยกคอมไพล์ได้ ยังสามารถทำการลิงก์เชื่อมโยงเข้ากันได้อีก ซึ่งเป็นไปตามเทคนิคการโปรแกรมเชิงโครงสร้าง ภาษาซีนั้น เป็นภาษาที่ประกอบด้วยฟังก์ชั่นต่างๆ ที่นำมาประกอบรวมกัน โดยโมดูลต่างๆ จะเขียนอยู่ในรูปแบบของฟังก์ชั่นทั้งสิ้น

5. มีตัวแปรชนิดพอยน์เตอร์ ภาษา ซีมี ตัวแปรพอยน์เตอร์ (Pointer) ที่สามรถเข้าถึงหรือชี้ไปยังที่อยู่ของหน่วยความจำที่ใช้จัดเก็บข้อมูลได้ โดยตรง ซึ่งหาได้ยากในภาษาระดับสูงทั่วไป 

6. ภาษาซีมองตัวอักษรตัวพิมพ์เล็กและตัวพิมพ์ใหญ่แตกต่างกัน (Case Sensitive) การเขียนโปรแกรมบนภาษาระดับสูงทั่วไป ส่วนใหญ่มีความเคยชินกับการกำหนดชื่อตัวแปร รวมถึงการอ้างอิงตัวแปรที่อาจเป็นทั้งตัวอักษรพิมพ์ใหญ่หรือตัวอีกษรพิมพ์ เล็กก็ได้ สำหรับภาษาซี ชื่อตัวแปรทั้งสองนั้น ถือเป็นคนละตัวแปรกัน ดังนั้น จัวอักษรพิมพ์ใหญ่ (Upper Case) และ ตัวอักษรพิมพ์เล็ก (Lower Case) จะมีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เมื่อเขียนด้วยภาษาซี



อ้างอิง 

-หนังสือพื้นฐานการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์


-www.google.co.th


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น